รายได้ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า มาจากอะไรบ้าง
1. ข้อตกลงทางการค้า(Trading term agreement)
แยกเป็นส่วนคงที่และส่วนผันแปร จะเป็นรูปแบบ by percentage หรือ by value ก็ได้
ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทฯ(เจ้าของสินค้านั้นๆ)
2. การ markup ราคา(รายช่องทาง)
โดยมากวิธีการนี้มักจะใช้ในบริษัทฯที่มีระบบ sale force automation ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าจะให้ markup ในช่องทางไหนแบบ by percentage หรือ by value
*ตัวอย่างเช่น ซื้อสินค้ามา 90 บาท ขายช่องทางร้านส่ง 92 บาท มี markup อยู่ที่ 2 บาท ในขณะที่ขายช่องร้านมินิมาร์ท 94 บาท มี markup อยู่ที่ 4 บาท เป็นต้น
3. รางวัลจากการแข่งขัน
เป็นรางวัลที่บริษัทฯ(เจ้าของสินค้า) มอบให้เพื่อเป็นขวัญและกำลังให้เกิดการแข่งขันซึ่งสุดท้ายประโยชน์ก็เกิดร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย
เช่น
การทำ sale blitz สินค้าออกใหม่,
การประกวดกองสินค้าในร้านค้าหลัก,
การสร้าง coverage ร้านค้าเป้าหมายได้มากที่สุด,
การรักษาจำนวนและมาตรฐานทีมขาย เป็นต้น
4. การสร้าง leverage ร้านค้า (Active outlet universe), ระดับการบริการ(Service level)
ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจศูนย์ฯที่อยู่ในรูปแบบของ shared business มีต้นทุนการจัดการที่ต่ำลงและมีกำไรจากการลงสินค้าในร้านค้า ที่มากขึ้น
เรื่องนี้ฟังดูเหมือนไม่ยากแต่บอกเลยว่าถ้าใครทำได้ จะอยู่ในธุรกิจศูนย์ฯไปได้อีกนานและจะมีบริษัทฯ(เจ้าของสินค้า)ติดต่อเข้ามาเพียบ
นอกนั้นจะเป็นรายได้จากส่วนอื่นๆ
เช่น
รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ (ถ้ามีพื้นที่โกดังเหลือ),
เสาป้ายโฆษณา,
รับจ้างพักสินค้าชั่วคราว,
รายได้จากการให้เช่าพื้นที่สำหรับบริษัทฯขนาดใหญ่(มีมาตรฐาน),
รับจ้างกระจายสินค้า,
ทำ sale blitz อื่นๆ
ซึ่งขึ้นอยู่กับ ขนาดและการโฟกัส ของเจ้าของศูนย์ฯในพื้นที่นั้นๆ
#ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า #โชห่วย #routetomarket #gotomarket #traditionaltrade #concessionaire #coverage #distribution #agent #FMCG #สินค้าอุปโภคบริโภค #ที่ปรึกษา