“ทำไมธุรกิจ มันดูวุ่นวายจัง ??” “ทำแล้วคุ้มเหนื่อย ไหมเนี่ย” “เอาอีกละ ปัญหาเดิม ๆ” “ต่อรองแบบนี้ จะไม่เหลืออะไร แล้ว นะ” กับ คำถาม และ ปัญหา อีกมากมาย เข้ามาไม่เว้นในแต่ละวัน ถ้ามี คำถามลักษณะ แบบนี้เข้ามาไม่หยุดหย่อน ลองดู 4 เคล็ดลับสร้างธุรกิจศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า ที่จะทำให้ คุณสามารถจัดการปัญหาต่าง ๆ ให้ เบาบางลง และ ทำให้ธุรกิจ เติบโตอย่างยั่งยืนได้
- ตกผลึกที่มาของรายได้และความเสี่ยงของธุรกิจ
แน่นอนว่า สมัยนี้ การทำธุรกิจ คุณจำเป็น ต้องมี แผนงานธุรกิจ เบื้องต้น เพื่อเป็นแผนที่ทางเดิน หรือ road map ใน การเริ่มดำเนินธุรกิจ ตอน เริ่มต้น
การวางแผน และ ออกแบบ model ธุรกิจ ให้เข้าใจก่อน ลงมือทำ มีความสำคัญมาก ๆ
สิ่งที่ ระมัดระวัง เป็นพิเศษ คือ การวางแผน แบบเดินหน้า และ แบบถอยหลัง โดยมี use case หรือ ตัวอย่างเคสต่าง ๆ ตั้งแต่ดีสุด ไล่ไปถึงจนแย่สุด และบ่อยครั้งที่ มักจะเห็นรูรั่ว ที่เกิดขึ้นเสมอ ๆ ซึ่งแน่นอน ถ้าทำได้ละเอียด อย่างน้อยความเสี่ยงที่เกิดขึ้น จะไม่ลงไปในระดับแย่สุดแน่ ๆ
ในขณะที่การเข้าใจที่มาของรายได้ของธุรกิจ หรือ ผมมักจะเรียกว่า source of growth ใน business portfolio เราควรจะต้องรู้ว่ามาจากอะไรบ้าง
อธิบายง่ายๆเหมือนปลูกต้นไม้เลยครับ ควรมี แกนหลักธุรกิจ ซึ่งก็คือ ลำต้นที่มั่นคง และเมื่อเติบโต สามารถออกดอก ออกผล เป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันได้
สรุปคือคุณต้องเห็นภาพต้นไม้ ต้นนี้ที่โตเต็มที่ ว่าหน้าตามันจะออกมาเป็นยังไงก่อนเสมอ
2. ระบบและการตรวจสอบ
ระบบที่เจอมาจะมี 2 แบบ 1. แบบ document based 2. แบบ computer based
ซึ่งการออกแบบระบบที่ดีจะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงานรวมถึงเราจะได้การทำงานในแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน
ซึ่งระบบที่ดีมักจะพ่วงมากับการตรวจสอบแบบคานกัน(reconcile) โดยมีรายงานหรือการเซ็นเอกสารอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป
ถ้ายิ่งต่าง function หรือ ต่างหน่วยงานได้ จะช่วยให้ลดความเสี่ยงได้มากยิ่งขึ้น
แต่แนะนำว่าให้เน้นหนักไปที่ ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า หรือ หน่วยงานที่คิดว่าจะมีจุดรั่วไหลได้มากที่สุดก่อนเสมอ
3. คนที่ไว้ใจได้
อันนี้เน้นนะครับว่า ว่าควรมีการวางคนที่ไว้ใจได้จริงๆ
ไม่ว่าจะเป็นในจุดที่จะต้องขับเคลื่อนธุรกิจแบบจริงจัง หรือ
จุดที่มีโอกาสรั่วไหล หรือ
จุดที่ถ้าผิดพลาดขึ้นมา จะธุรกิจนั้นเสียหายอย่างหนัก ยกตัวอย่างที่สำคัญๆใน ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า เช่น หัวหน้า Salesman ที่ไว้ใจได้, หัวหน้าคลังสินค้าที่ขยันหมั่นตรวจนับสินค้า หรือ หัวหน้าบัญชี ที่มีความเป๊ะในกฎระเบียบของบริษัทฯ
4. สินทรัพย์(asset) ธุรกิจ
สินทรัพย์ทางธุรกิจ ถ้าลองตีความง่ายๆ หมายถึง สิ่งที่คุณลงทุนถือครองแล้ว มันมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าเป็นสินทรัพย์ในธุรกิจศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า นั้น ในมุมของผู้เขียนนะครับ จะหมายถึง
การมี outlet universe ในมือ 100% จะครบทุกประเภทร้านค้าก็ได้หรือไม่ครบก็ได้ แต่ต้อง 100% แบบหลับตาไปหาได้ หรือ
การมี logistic ที่ทำ service level ได้ตามมาตรฐาน เช่น ส่งร้านค้ารัศมี 50 กม. ได้แบบ next day, ถ้าเป็นระยะ 51-100 ภายใน 2 วันเป็นต้น หรือ
การมี perfect store ที่สามารถวางและจัดเรียงสำหรับสินค้าใหม่ในร้านประเภทร้านโชห่วยขนาดกลาง 100 ร้านค้าภายใน 7 วัน เป็นต้น
เพราะแต่ละตัวอย่าง ต่างเป็นจุดแข็งของศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า ที่บริษัทฯ(เจ้าของสินค้า)ต่างต้องการหรือถวิลหา ความแข็งแกร่งเหล่านี้ จากศูนย์จัดจำหน่ายฯ ในพื้นที่นั้น ๆ
#ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า #โชห่วย #routetomarket #gotomarket #traditionaltrade #concessionaire #coverage #distribution #agent #FMCG #สินค้าอุปโภคบริโภค #ที่ปรึกษา