รถขนส่ง เอาแบบไหนมาก็ได้ “มีตัวรถ เสริมแหนบ ใส่ตู้ทึบ ใส่ล้อต้น แบบนี้ก็เอาใช้งานได้แล้ว” คิดแบบนี้ก็ไม่ได้ผิดอะไร
แต่ถ้าเพิ่ม 3 วิธีการนี้ จะช่วยให้รถที่เราลงทุนซื้อหรือเช่ามา มันคุ้มค่าเงิน(value for money) มากขึ้น
- กลุ่มหมวดหมู่สินค้า ที่จะนำมาบรรทุก เป็นกลุ่มไหนเช่น
กลุ่มเครื่องปรุงในครัวที่เป็นแบบ “ขวด น้ำหนักเยอะ”
เลือกรถ ตู้ทึบ เปิดฝาด้านหลัง หรือด้านข้างได้จะดีมาก เสริมแหนบรองรับน้ำหนัก แต่ต้องไม่กระเด้งมาก บรรจุได้เยอะ 80% ของความจุ และเผื่อค่าสึกหรอ กับ ค่าน้ำมัน ในการใช้งานด้วย
กลุ่มสินค้าขนม น้ำหนักไม่เยอะ
เลือกรถ ตู้ทึบ เปิดฝาด้านหลัง หรือด้านข้าง เสริมแนบไม่ต้องเยอะ ติดตั้งชั้นวางในตู้เพิ่มเติม เผื่อมีการขายแตกลัง เป็นต้น
- การลงสินค้าต่อ drop (ที่ร้านค้า) ต้องมีกำไรตั้งแต่ร้านแรก หมายถึงว่า
รถขนส่งจะต้องรองรับการส่งสินค้าไปร้านค้าในแต่ละวันแต่ละร้าน ได้จุดคุ้มทุนต่อการลงสินค้าต่อร้านค้า (break even point per drop) ณ การลงสินค้า
โดยคำนวณได้จากมูลค่า(value)หรือจำนวน(volume) ของสินค้าในการลง “ขั้นต่ำ” ที่จะต้องมีกำไรเสมอ
โดยพิจารณาจากองค์ประกอบสินค้าทั้ง
ขนาด(dimension) ,
น้ำหนัก(weight) ,
มูลค่า(value) ,
ลักษณะการขายหรือการส่ง(แตกลัง, แตกแพ็ค หรือไม่)
เพราะทั้งหมด เกี่ยวข้องกับ ต้นทุนค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ
และจำเป็นจะต้องวางแผนการขาย ให้สอดคล้องกันด้วย
- การดูแล รักษา ซ่อมแซม ได้ง่าย ควรเลือกรถขนส่ง ยี่ห้อมหาชน
ที่สามารถบริการได้ตามรอบระยะทางที่กำหนด ที่ศูนย์ตัวแทนโดยตรง หรือ
ร้านซ่อมต่างๆ เพื่อประหยัดค่าซ่อม หรือ หากเสียระหว่างทาง หาร้านซ่อมได้ง่าย
ที่สำคัญ เมื่อขายต่อ ราคารถ ยี่ห้อมหาชน เหล่านี้เข้าข่าย “ซื้อง่าย ขายคล่อง ราคาตกไม่แรง” เช่นเดียวกัน
========================
#ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า #โชห่วย #routetomarket #gotomarket #traditionaltrade #concessionaire #coverage #distribution #agent #FMCG #สินค้าอุปโภคบริโภค #ที่ปรึกษา