สต็อคมากเกินไป เงินจม,
ของ shelf life ไม่สดใหม่ เผลอๆอาจมีของหมดอายุ
สต็อคน้อยเกินไป เสียโอกาสการขายและกำไร,
ของขาดส่งให้ลูกค้า ของขาดหน้าร้านลูกค้า เผลอๆเสียพื้นที่หน้าร้านให้คู่แข่งอีก
ผมจึงมีเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ในการกำหนดปริมาณสต็อคให้สัมพันธ์กับยอดขาย เพื่อลดปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น
- คำนวณยอดขายเฉลี่ยทั้งเดือน เทียบกับรอบการส่ง(รอบการสั่ง)และ stock cover day (กำหนดปริมาณสต็อคขั้นต่ำที่ควรมี) เพื่อเป็นแนวในการเก็บสต็อคที่โกดัง ให้มีส่งได้เพียงพอกับยอดขายเฉลี่ย
- ใช้ Trend ประวัติยอดขายย้อนหลัง เดือนปัจจุบัน เทียบ เฉลี่ย 3 เดือน เทียบ เฉลี่ย 6 เดือน หรือ เทียบ trend ยอดขายปีที่แล้ว(LY) เพื่อวิเคราะห์ trend ของยอดขายสินค้ารายตัว และเป็นแนวทาง ในการสั่งซื้อ และ การกำหนดปริมาณสต็อคในโกดังได้อย่างเหมาะสม แนะนำให้ใช้วิธีนี้ ทำเป็นรายไตรมาส
- สร้าง ABC stock แบบระฆังคว่ำ (A=กลุ่มสินค้าที่ขายดี-ดีมาก, B= กลุ่มสินค้าที่ขายออกได้เรื่อยๆ, C=กลุ่มสินค้าที่เดินช้า(Slow move)หรือไม่เดินเลย(Non move) ซึ่งรูปแบบลักษณะกราฟมีได้หลายรูปแบบ ทั้งแนวเส้นตรงเอียงซ้าย หรือ เอียงขวา, ทางระฆังหงาย, ทรงระฆังคว่ำ ซึ่งผมมักจะแนะนำทรงระฆังคว่ำ A= มีปริมาณที่น้อย, B=มีปริมาณประมาณนึง, C=มีปริมาณที่น้อย บนสมมติที่ของสามารถ supply ได้อย่างสม่ำเสมอ แนะนำให้ใช้วิธีนี้ ทำเป็นรายครึ่งปี
เรื่องนี้เป็นเรื่องบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม FMCG industry ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าลงข้อมูลลึกลงไปจะรู้เลยว่า สินค้าตัวเดียวกันขายคนละภาค จะมีรูปแบบการจัดการทั้ง 3 ข้อที่แตกต่างกัน
========================
#ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า #โชห่วย #routetomarket #gotomarket #traditionaltrade #concessionaire #coverage #distribution #agent #FMCG #สินค้าอุปโภคบริโภค #ที่ปรึกษา