อย่าพึ่งทำ ธุรกิจศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้

“การลงทุนมีความเสี่ยง” ธุรกิจศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า ก็มีความเสี่ยง เช่นเดียวกัน

ซึ่งความเสี่ยง ใน มุมมองผม คือ

ความเสี่ยง ที่ควบคุม และ ป้องกันได้ กับ ความเสี่ยง ที่ควบคุม ไม่ได้

สำหรับมือใหม่ ที่จะทำธุรกิจ ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า ผม ขอแชร์ประสบการณ์ ในด้าน ความเสี่ยงที่ควบคุม และ ป้องกัน ได้ มีอะไรบ้างนั้น ไปดูกัน

  1. แผนงาน

ควรมีแผนงานของธุรกิจ และ Feasibility study ควบคู่กัน ฟังดูเหมือนทฤษฎี ผู้เขียนได้ลงมือทำจริงกับ project ต่าง ๆ อย่างน้อย 8 projects บอกได้เลยว่า work มาก

เพราะ คุณจะรู้ operation เบื้องต้น วิธีการ drive ธุรกิจ , การตั้งเป้า , การวัดผลลัพธ์ , อะไรที่ควรทำต่อ , อะไรที่ควรหยุด , อะไรที่ควรเพิ่ม

ควรมี sale กี่คน , ขนส่งกี่คัน , ช่วงไหนควรเพิ่ม sale หรือ ขนส่ง , ความเสี่ยงอยู่ตรงไหน

ยอดขาย เท่าไรไหน ได้ break even point, ช่วงไหน ได้ ROI

พูดง่าย ๆ คือ คุณ ทำธุรกิจ บนกระดาษ รู้เรื่อง operation / ผลกำไร-ขาดทุน ตั้งแต่ อยู่ในกระดาษแล้ว ที่เหลือ แค่ลงมือทำ ตามแผน ปรับเปลี่ยน แก้ไข ด้วยตัวแปร ที่ถูกต้อง ความเสี่ยงในธุรกิจ ย่อมน้อยลงมาก ๆ ๆ เมื่อเทียบ การ ปรับแก้ ที่ไร้ทิศทาง

2. เหตุที่นำมาซึ่ง ความสูญเสีย

ลองตั้ง คำถามแบบนี้ ดูนะครับ

“อะไรที่รั่วไหล จากทำงานด้วยคนๆเดียว อันนี้ ต้องรีบแก้”

เช่น จัดซื้อ, สินค้าคงคลัง ควรออกแบบ ระบบให้มี การตรวจสอบ ซึ่งกันและกันอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป ในแต่ละ process สามารถมี dashboard ฟ้องได้ เมื่ออาการผิดปกติ

“อะไรที่รั่วไหล ที่ทำให้เงินในกระเป๋าหายไป ในพริบตา”

เช่น sale หน่วยรถ ขโมยสินค้า, การไม่วางแผนภาษี, การต้องรับผิดชอบการคืนสินค้า ที่ไม่ได้คุณภาพ หรือ สินค้า ที่หมดอายุ ขายไม่ออกในตลาด

สิ่งเหล่านี้ควรทำ preventive แต่เนิ่น ๆ ผิดพลาดครั้งแรก เป็นบทเรียนรีบแก้ไข หาวิธีป้องกัน ถ้าคุณวางระบบได้ดี สิ่งที่เกิดขึ้นยัง ขาดทุนกำไรปีนั้น ๆ ผลประกอบการออกมาก็แค่ไม่คุ้มเหนื่อย แต่ผิดพลาดแบบเดียวกัน ครั้งที่ 2 ผมคิดว่าคุณไม่ใส่ใจในธุรกิจ

3. การบริหารคน

เป็นศาสตร์ และ ศิลป์ที่คุณควรจะต้องใส่ใจกับเรื่องนี้มาก ๆ ๆ

ตั้งแต่การเลือกพนักงาน เข้ามาทำงานร่วมกัน

บางตำแหน่ง คุณอาจไม่ต้องการคนเก่งมาก แต่ต้องการความเที่ยงตรง ซื่อสัตย์

บางตำแหน่ง คุณต้องการคนที่เป็นนักล่า หิวกระหายแต่ทั้งนี้ก้อต้องมีพื้นฐานของความซื่อสัตย์

คุณอาจต้องออกแบบ working environment ที่ดี , มี motivation program ที่เหมาะสมสร้างแรงจูงใจ , มีระบบการ monitor, audit และ penalty ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

สิ่งสุดท้ายเลย สำหรับการบริหารคน เข้าข่ายสุภาษิต

“คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก”

เพราะฉะนั้น ในปรับวิธีคิดใหม่

“คับที่อยู่ได้ คับใจต้องรีบแก้”

ใส่ใจกับทีมงาน หลายเคสไม่ใช่เป็นเรื่องของ “เงิน” และแต่เป็นเรื่องของ “กำลังใจ”

#ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า #โชห่วย #routetomarket #gotomarket #traditionaltrade #concessionaire #coverage #distribution #agent #FMCG #สินค้าอุปโภคบริโภค #ที่ปรึกษา  

สนใจหลักสูตรของ GT Universe

บทความที่น่าสนใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่