High risk high return เป็นประโยค classic ของการทำธุรกิจ แต่ถ้าคุณรู้ 4 ความเสี่ยงธุรกิจศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า นี้ แล้วคุณรับมือกับ มันได้ธุรกิจ ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า ก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่ง ที่น่าสนใจ
- ค่าแรง(Labor wage)/เงินเฟ้อ (Inflation)
เนื่องจากธุรกิจ ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า เป็นธุรกิจ คนกลาง ที่ต้องมา บริหาร demand (ความต้องการซื้อ) ใน ของผู้บริโภค ในพื้นที่
ซึ่งโดยมาก รายได้หลัก ขอ ธุรกิจ ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า มีได้ หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่ กับ นโยบายของ แต่ละ บริษัทฯ (เจ้าของสินค้า) แต่ ที่นิยมใช้ จะมีรูปแบบ ดังนี้
“รายได้ % fixed ส่วนแรก เป็นแบบ un-condition (คือได้รับเลย ทันที) และ ส่วนที่สอง แบบ % variable ขึ้นอยู่กับ ผล การทำงาน แบบ condition (ต้องถึง เงื่อนไข ก่อนถึงได้ รับผลตอบแทน)”
ซึ่งรูปแบบนี้ จะถูกกำหนด ตายตัว ตั้งแต่วันแรก ที่เริ่มทำธุรกิจ เป็นคู่ค้า ร่วมกัน ดังนั้น เจ้าของ ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า ต้องบริหาร ต้นทุน ให้ดี ซึ่งต้นทุน ที่มีความสำคัญมากๆ คือ “ค่าแรง” กับ “เงินเฟ้อ”
ซึ่งทั้ง 2 ตัวแปรนี้ มีแต่ จะเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่เคยเห็น ลดลงเลย นั่นหมายถึง กำไร ในธุรกิจ จะลดลง ถ้ายอดขาย เรายัง คงที่ ในปีถัด ๆ ไป
ดังนั้น ถ้าหลีกเลี่ยง สภาวะนี้ได้ สิ่งที่ ควรต้องทำ คือ ต้องมี อัตราการเติบโต ในธุรกิจให้ ชนะ ต้นทุน ทั้ง 2 ส่วน ที่เพิ่มขึ้น หรือ ทำเรื่อง การเพิ่ม productivity ในธุรกิจ ให้ชนะ ให้ได้เช่นเดียวกัน
2. ความไม่แน่นอน ในนโยบาย บริษัทฯ (เจ้าของสินค้า)
หลายๆ ครั้ง ความเสี่ยงก็มักจะมาจาก “การปรับเปลี่ยนทีมบริหารระดับสูง” ซึ่งส่งผล ต่อ ทิศทางการทำงาน และ การสนับสนุนงบประมาณใน ด้านการทำตลาด
ซึ่งอย่างที่บอก ธุรกิจต้องมีการเติบโตให้ได้ในทุก ๆ ปี แต่อาวุธในการกระตุ้น demand ในตลาด กลับสวนทาง กับ การเติบโตของธุรกิจฯ ด้วยการจำกัดงบประมาณ ที่ลดลง
3. ทีมขายหน่วยรถเงินสด (Cash van)
ทีมขายหน่วยรถเงินสด คือ ทีมที่ขนสินค้าจากโกดังขึ้นรถ ไปขายของตามร้านต่าง ๆ เก็บเงินสด และโอนเข้า บัญชีศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า หรือ กลับมา clear เงินที่ศูนย์จัดจำหน่ายฯ ในตอนเย็น
แน่นอนว่า สินค้ากับเงิน อยู่ในมือ Sale อะไรก็เกิดขึ้นได้ โดยมาก มักจะมีการ cheating ในหลายรูปแบบ เช่น สอดไส้ของ, ฮุบรายการโปร ร้านค้าไปขายเอง, เอาเงินไปหมุน, เอาของไปหมุน อื่นๆอีกเยอะ
หากควบคุมได้ไม่เข้มงวดมากพอ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากส่วนนี้ถือได้ว่าเยอะพอสมควร
4. การคืนสินค้าจากร้านค้า(Market return)
การรับสินค้าคืนจากร้านค้าที่เกิดจากการขายสินค้าในร้านค้ามากจนเกินไป จนหมุนเวียนไม่ทันและหมดอายุ ต้องเก็บกลับมาที่ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า ซึ่งโดยมากศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า จะสามารถ claim กลับกับทางบริษัทฯ (เจ้าของสินค้า) ได้ในอัตราส่วนที่กำหนด ถ้าเกินจากนั้นและมีมากไป ก็จะเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายของศูนย์จัดจำหน่ายฯเอง พูดง่ายๆเข้าเนื้อนั่นเอง
#ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า #โชห่วย #routetomarket #gotomarket #traditionaltrade #concessionaire #coverage #distribution #agent #FMCG #สินค้าอุปโภคบริโภค #ที่ปรึกษา