About “Finance for non-finance” การเงิน ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า

เจ้าของ จำเป็นต้องรู้เรื่องการเงิน ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า และสำคัญมากพอ ๆ กับเรื่องการสร้างยอดขาย ของธุรกิจ ให้เติบโต

เพราะเปรียบเสมือน “ลมหายใจ” ของธุรกิจ ซึ่งเจ้าของ อาจมองว่า เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ หรือ ความรู้เรื่องบัญชี ก็ปล่อยให้ ผู้เชี่ยวชาญ ทำไปสิ ใครเก่งอะไร ก็ให้ทำอันนั้น ถูกแค่ครึ่งเดียว ครับ

เพราะเจ้าของ ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า จำเป็นต้องรู้ ในเชิงวิเคราะห์ งบการเงิน ได้รู้เรื่อง งบกำไร-ขาดทุน หรือ แม้กระทั่งรู้ว่าลงทุนไปแล้ว คืนทุนเมื่อไร หรือ ผลตอบแทนที่ได้รับมา ตรงตามที่ตั้งเป้าหมาย ไว้ไหม

ใน ธุรกิจศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า สิ่งที่จำเป็น ต้องเข้าใจนั้น มีอะไรบ้าง

  1. งบกำไร – ขาดทุน  ซึ่งพื้นฐานเกิดจากรายได้ – ค่าใช้จ่าย ได้ผลลัพธ์เป็น “กำไร” หรือ “ขาดทุน” ในแต่ละช่วง period ในการดำเนินกิจการนั้น ๆ ซึ่งกิจกรรมในธุรกิจ ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า นั้น มักแสดงออกมา ในรูปแบบ ดังนี้
  2. รายได้จาก Trading Term agreement / การขายสินค้า ในราคาที่สูงขึ้น (markup) / การขนส่ง / การให้เช่าพื้นที่ และ อื่น ๆ
  3. รายจ่ายจาก การบริหาร SG & A (Sell , General & administration) , ขนส่ง , คลังสินค้า , ค่าเสื่อม ระบบ IT , ของเสีย และอื่นๆ
  4. เงินหมุนเวียน (Cash flow) ซึ่งพื้นฐานเกิดจาก เงินไหลเข้า-เงินไหลออก ได้ ผลลัพธ์ เป็น “บวก” หรือ “ลบ”  ในแต่ละช่วง period ใน การดำเนินกิจการ ซึ่งเรื่องนี้ ผมให้น้ำหนัก มากกว่า งบกำไร-ขาดทุน เพราะ ถ้าเจ้าของธุรกิจ สามารถบริหารเรื่องนี้ได้ดี ก็จะสามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างแข็งแรง มากยิ่งขึ้น ลดการกู้ยืม ลดความสูญเสีย ลงทุนต่อยอดธุรกิจได้อย่างมั่นคง ซึ่งในความเป็นจริงเรื่องนี้จะว่า ยากก็ยาก จะว่า ไม่ยากก็ไม่ยาก มีทั้ง ข้อดีข้อเสีย ในการดำเนินการ  สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ประกอบด้วย

       – Credit term ซื้อ และ Credit term ขาย

       – การเคลื่อนไหวสต็อค (Stock movement)

       – การบริหารสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (Utilize van asset)

       – การบริหารการยืมสินค้าล่วงหน้าและการคืนสินค้าให้ครบถ้วน (Reimbursement)

       – การบริหารในส่วนของ Cash generator team

5. ผลตอบแทนการลงทุน (Return On Investment (ROI)) ส่วนใหญ่จะวิเคราะห์ 2 dimensions คือ ในเรื่อง ช่วงเวลาการถึงจุดคุ้มทุน และ ช่วงเวลาการคืนอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งสามารถดู ค่าเหล่านี้ได้จากการทำ feasibility study เพื่อให้แน่ใจว่า การดำเนินงานของธุรกิจ สามารถทำตามได้ใกล้เคียงหรือตรง ตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้

ในมุมผู้เขียน “เครื่องมือ” ที่ช่วยทำใหเรื่องนี้ สามารถวิเคราะห์ ได้อย่างละเอียดรอบคอบ ประกอบด้วย feasibility study, รายงานต่างๆจากระบบ, dashboard รายเดือน รวมถึง การวิเคราะห์รายงานผ่าน Business Intelligence (BI)

#ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า #โชห่วย #routetomarket #gotomarket #traditionaltrade #concessionaire #coverage #distribution #agent #FMCG #สินค้าอุปโภคบริโภค #ที่ปรึกษา  

สนใจหลักสูตรของ GT Universe

บทความที่น่าสนใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่