มีกรณีศึกษาเคสนึง สินค้าใหม่เป็นสินค้าแช่แข็ง ต้องการทำตลาด Out Of Home ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มากโดยต้องการให้สินค้าไปอยู่ในตู้เย็นหรือตู้กับข้าว(กรณีไม่ได้เป็นสินค้าแช่แช็ง) ในแต่ละครัวเรือนให้ได้
ซึ่งตลาดนี้บริษัทใหญ่ๆมักจะมองเรื่อง life style, usage หรือ convenience มาปรับใช้โดยออกแบบ packaging ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในครัวเรือน เช่น นมข้นหวานใส่หลอดพลาสติกมีฝาปิด, น้ำจิ้มสลัด 7 รสชาด ใส่ซองพลาสติกมีซิปปิดขนาดเล็ก เป็นต้น
ถ้าเราลองนำสินค้าแช่แข็งที่ห่อพลาสติกที่แพ๊คในรูปแบบเดิมๆ ผมขอยกตัวอย่างเช่น ลูกชิ้นห่อแบบแพ๊คสูญญากาศ มาประยุกต์ด้วยหลักการนี้ เราจะต้องศึกษาอะไรบ้าง
- ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคก่อน เช่น คนทำอาจไม่ชอบการรอนานหลังเอาออกจากตู้เย็น, บางทีใช้เวลา defrost เยอะ, อยากทำแล้วกินเลย, สินค้าเก็บได้นานขึ้น, สินค้าคลุกและปรุงมาแล้วไม่ต้องใส่อะไรเพิ่ม, สินค้าทานคู่กับเครื่องดื่มเช่น carbonate soft drink แล้วเข้ากัน อร่อย, สินค้าทำ complement กับเส้นบะหมีกึ่งสำเร็จรูปพร้อมเสริฟ์ เป็นต้น
- Design package ออกแบบ package ให้ใส่ที่ช่องด้านข้างตู้เย็นได้, มี inner pack ฉีกออกมามีจำนวนพอดี 1 ชาม ไม่ต้องแกะใหม่หรือเปิดถุงค้างไว้ เป็นต้น
- Price index มีราคาที่เหมาะสมเช่น ทานกับมาม่า ราคารวมแล้วจ่ายน้อยกว่า 20-30% เมื่อต้องออกไปทานนอกบ้าน ซึ่งลูกค้าเปรียบเทียบอยู่แล้วว่าทานนอกบ้านจะแพงกว่าทำเอง
แบบนี้มีโอกาสที่สินค้าจะ launch ออกตลาดด้วย innovation ใหม่ๆก็มีความเป็นไปได้สูง สื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัด วางจัดจำหน่ายได้ตรงกับประเภทร้านค้า โอกาสในการขายเข้าไปยังช่องทาง Out Of Home นี้มีโอกาสเป็นไปได้สูง
========================
#ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า #โชห่วย #routetomarket #gotomarket #traditionaltrade #concessionaire #coverage #distribution #agent #FMCG #สินค้าอุปโภคบริโภค #ที่ปรึกษา
สนใจหลักสูตร GTU (https://gtuniverse.co.th/shop)