อยากขึ้น Rack ในการจัดเก็บสินค้าต้องรู้อะไรบ้าง

การจัดการงานหลังบ้าน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาให้สอดคล้องกับยอดขายหรือโอกาสทางธุรกิจที่กำลังเติบโต หนึ่งในแผนงานที่ต้องมีการปรับตัว คือ การเพิ่มพื้นที่จัดเก็บสินค้า

ซึ่งธุรกิจศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า เป็นธุรกิจ trading จึงมีคลังที่ใช้จัดเก็บสินค้าในรูปแบบ Finished Goods (FG) เท่านั้น ไม่ได้มีคลังเก็บวัตถุดิบ(Raw material) หรือวัสดุการบรรจุภัณฑ์(Packaging) เหมือนธุรกิจผู้ผลิต

ดังนั้น การขยายคลังสินค้าในรูปแบบของการขึ้น rack เพื่อใช้ประโยชน์ของการใช้พื้นที่ในอากาศ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งมีรายละเอียดที่ควรรต้องรู้ก่อน ดังนี้

  1. โครงสร้างคลังสินค้า รองรับน้ำหนักกิโลกรัมต่อตรม.ได้เพียงพอ

โดยเฉพาะพื้นคอนกรีต ต้องดูว่ามี tolerance rate ที่มากสุดเท่าไร เช่น

1.2 ตัน/ตรม. หรือ 1,200 กก./ตรม. เพราะถ้าขึ้น rack 2 ชั้น ใน 1 พาเลท(ขนาด 1×1.2m) ควรรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 550 กก./ตรม.

แต่ถ้าต้องการเพิ่มเป็น 3 ชั้น 1 พาเลท ควรรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 380 กก./ตรม.

ดังนั้นกลุ่มสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เช่น กลุ่มเครื่องดื่ม หรือ กลุ่มของใช้ในครัวเรือน เช่น น้ำมันหอย, ซีอิ๊ว ซึ่งน้ำหนักต่อลังเยอะ

สมมติถ้าวางสินค้าบนพาเลท layerละ 13 ลัง มี 8 layers น้ำหนักรวมต่อพาเลทจะสามารถจัดเก็บบน rack ที่ได้จัดเตรียมไว้หรือไม่ เป็นต้น

สำหรับคลังที่จัดพื้นที่แนวราบอยู่แล้ว ให้ดูจำนวน location ด้วยว่า เมื่อขึ้น rack แล้ว จำนวน location มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ, เท่าเดิม หรือ น้อยลง

ผมเคยเจอมาแล้วนะครับ ขึ้น rack แต่จำนวน location น้อยลง  

  • เงินลงทุน เทียบกับ Return On Investment(ROI)

นอกจากดูเรื่องจำนวน location ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ให้ดูเรื่องของการคืนทุน โดยดูจาก กำไรต่อlocation ของกลุ่มสินค้านั้นๆ เทียบกับ turn over ของสินค้า เพราะมีผลต่อการคำนวณเรื่อง ROI เพราะฉะนั้นให้เลือกกลุ่มสินค้าที่มี margin ดี, สินค้าน้ำหนักไม่เยอะ turn over เร็ว, จะยิ่งทำให้ ROI ทำได้เร็วยิ่งขึ้น เช่น กลุ่มบุหรี่, กลุ่มเครื่องสำอางค์ เป็นต้น

  • การบริหารจัดการภายในคลัง

มีความสำคัญอย่างมาก ตั้งแต่การทำ inbound, inventory และ outbound

ต้องมีกระบวนการรองรับ การรับสินค้าได้จากหลาย suppliers ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันทั้งเรื่องสินค้าขายปกติ พรีเมี่ยม สินค้าแถม สินค้าฝาก สินค้าโปรโมชั่น และอื่นๆ ซึ่งถ้ามีการแยกแยกสัดส่วน layout ได้ละเอียด การทำ received สินค้า และ put away strategy ในการจัดเก็บเข้า location ก็จะชัดเจน และเมื่อทำจ่าย การทำ allocate FIFO สามารถ  ปล่อย(release) หยิบ(pick) และ ส่งมอบ (load) ทั้งแบบยกลังและ break case ได้ตรงตาม route ที่กำหนด

ดังนั้น ไอเดียที่สำคัญ คือ ควรทำเรื่องการรับสินค้าเข้าให้เป๊ะมากที่สุด จะช่วยเรื่องการจัดเก็บและการจ่ายสินค้าได้ง่ายขึ้นเป็นเงาตามตัว

========================

#ศูนย์จัดจำหน่ายและกระจายสินค้า #โชห่วย #routetomarket #gotomarket #traditionaltrade #concessionaire #coverage #distribution #agent #FMCG #สินค้าอุปโภคบริโภค #ที่ปรึกษา

สนใจหลักสูตร GTU

บทความที่น่าสนใจ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่